วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

วันแรก

22 มีนาคม 2553
ห้องสมุด ชุมชนตลาดเก่ามีนบุรี

วันเปิด วันแรกอย่างเป็นทางการ โดยตามแผนงานจะเป็นการแนะนำตัว
ทั้งอ.พี่ป่อง และนักศึกษาฝึกงานทุกคน ให้พี่ ป้า น้า อา ในชุมชนได้รู้จัก
ส่วนเด็กๆ นี่รู้จักกันดี (เพราะแอบเข้ามาวิ่งเล่นกันก่อนหน้านี้หนึ่งสัปดาห์แล้ว)
และก็อธิบายว่าจะมาทำอะไรกัน ยังไง ตรงไหน ต้องช่วยกันทำนะ ไม่มีเงินด้วย
มีแต่แรงงานอันน้อยนิด กับวัสดุนิดหน่อย ที่เหลือใจล้วนๆ ครับงานนี้



โดยรวมชาวบ้านและเด็กๆ ก็รู้อยู่แล้วแหละ ว่าจะยังไง เพราะทำกันมาสองปีแล้ว
เลยมาประชุมกันบางตาไปหน่อย ไม่ว่ากัน เพราะแต่ละบ้านส่งเด็กมาเป็นกองหน้า
ซะล้นห้องสมุดทีเดียว


เวลา 10.30น. อ.พี่ป่อง กล่าวแนะนำและเปิดกิจกรรม พร้อมภาพประกอบใน
สไลด์ที่เตรียมกันมา เด็กๆ ดูจะตื่นเต้นกับภาพตัวอย่างสนามเด็กเล่นอันใหม่
ชี้ไม้ชื้มือกันใหญ่โต เสียงจอแจลั่นซอยเลย ฝ่ายผู้ใหญ่ก็ไม่แพ้กัน โดยเฉพาะ
พี่เชนที่ดูจะถูกใจกับตัวอย่างสวนพร้อมที่นั่งเล่นแบบเล่นระดับอยู่ไม่น้อย
ถึงขนาดประกาศกร้าวว่า "เอาแบบนี้เลย !!" ฮา
งานนี้เล่นเอาโมเดลที่เตรียมไปตกกระป๋องซะอย่างงั้น ..



เป็นอันจบพิธีการแรกไป ที่เหลือก็ชิวๆ ครับ จัดการฉายหนังกลางแปลง เอ้ยย
การ์ตูน "up คุณปู่ซ่า" ให้เด็กๆ ดูกันจอใหญ่ๆ ส่วนคนโตๆ ก็หลบออกมา
นั่งคุยกันต่อ อ.พี่ป่องกับ พี่เชน พี่อ้นช่วยกันเล่าความหลังตลาดเมื่อครั้งยังเด็ก
กันอย่างสนุกสนาน จนคำพูดแทบจะรวมกันกลายเป็นภาพสามมิติกันตรงนั้นเลย
ฮา มีเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ น่าสนใจมากมาย ให้เก็บมาค้นคว้าข้อมูลกันต่อไป



ครั้งหน้ามาคุยกันต่อนะครับ บ๊ายบายพ่อแม่พี่น้อง บ๊ายบายเด็กๆ

ยินดีต้อนรับสู่ community space ของชุมชนตลาดเก่ามีนบุรี


ปิดเทอมฤดูร้อนปีนี้ กลุ่มสถาปนิกชุมชนเพื่อที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม
(Community Architects for Shelter and Environment (CASE)
เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาฝึกงานได้เข้ามาเรียนรู้และร่วมกันกับชาวชุมชนตลาดเก่ามีนบุรี
เพื่อปรับปรุง และพัฒนาพื้นที่ว่างภายในชุมชนให้เกิดประโยชน์ใช้สอยร่วมกัน
ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ต่อยอดจากโครงการใน 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งประสบความสำเร็จ
และตอบสนองการใช้งานของคนในชุมชนได้อย่างนาพอใจทั้งสนามเด็กเล่น (2551)
และห้องสมุด (2552) ในปีนี้มีพื้นที่ว่าง 2 จุดที่ชาวชุมชนอยากปรับปรุง

จุดแรกคือ พื้นที่รกร้างริมน้ำติดหลังศาลเจ้า
โดยคิดว่าจะปรับปรุงต่อเนื่องกับสนามเด็กเล่นเดิมที่มีอยู่แล้วให้กว้างขึ้นไปอีก รองรับ
จำนวนเด็กๆ ที่อยากเข้ามาเล่นร่วมกันมากขึ้น รวมทั้งมีสระว่ายน้ำเล็กๆ น่ารักสำหรับเด็กๆ
ไว้เล่นคลายร้อน และกิจกรรมภายในชุมชนที่จัดกันบ่อยขึ้น น้องๆ เลยอยากได้ห้องสำหรับ
ซ้อมเต้นไว้ในบริเวณนี้ด้วย ซึ่งสภาพพื้นที่เองก็อาจทำเพิ่มเป็นเวทีการแสดงและที่นั่งชม
กลางแจ้งเพิ่มเข้าไปได้ด้วยหละครับ





จุดที่สองคือ พื้นที่บริเวณสามแยกทางเข้าชุมชน

เดิมทีปล่อยรกร้าง ใช้ตากปลา ตากขนมบ้าง ชาวบ้านอยากปรับปรุงเป็นพื้นที่สำหรับนั่งคุย
พบปะหรือประชุมกัน อาจทำเป็นสวนหย่อมเล็กๆ ให้ได้สดชื่นเพราะมีคนเดินผ่านไปผ่านมา
อยู่ตลอดทั้งวัน





วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

นักศึกษาฝึกงาน ปิดเทอมฤดูร้อน 2553





1. อารยา เรืองคงเกียรติ (ก้อย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. สุพัตรา กลั่นเกลี้ยง (ตั๊ก)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. เกวลิน พิมสอน (อั้น) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. ปัทมา พรภิรมย์ (มิก) มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์
5. กนกพร ชาไข (นก) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
6. ศิรินภา จันทรโคตร (ส้ม) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
7. พัตราพร พ่วงพร้อม (แอม)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. ภัทร สุขสิงห์ (สตีฟ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
9. คนึงนิจ ชูกำเนิด (นิจ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
10. นฤดล ปานพลับ (เอ)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11. ภัทรพล ตั้งกลชาญ (ฮอกกี้)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. กุลนันท์ ผาติวัฒน์ (โบตั๊น) มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญญบุรี
13. ชุติมา กลั่นสุภา (รัก)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14. วรัญญา มาลา (โป๊ะ)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่